ข้อควรระวังด้านความปลอดภัย
ข้อควรระวังด้านความปลอดภัย
-
คู่มือฉบับนี้ประกอบไปด้วยข้อความแจ้งเตือนที่สำคัญและข้อควรระวังด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ของคุณ
อย่าใช้เครื่องพิมพ์ในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากที่อธิบายไว้ในคู่มือที่แนบมานี้ เพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตหรืออุบัติเหตุอื่น ๆ ที่ไม่คาดคิดได้
เครื่องหมายและประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยใช้ได้เฉพาะกับแรงดันไฟฟ้าและความถี่ที่รองรับในประเทศหรือภูมิภาคที่สามารถใช้งานได้เท่านั้น
คำเตือน
-
ห้ามใช้เครื่องพิมพ์ในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:
หยุดการใช้งานทันที ถอดปลั๊กเครื่องพิมพ์ และติดต่อตัวแทนบริการในพื้นที่ของคุณเพื่อขอรับการซ่อมแซม
- วัตถุโลหะหรือของเหลวหกเลอะภายในเครื่องพิมพ์
- เครื่องพิมพ์มีควัน กลิ่นแปลก ๆ หรือเกิดเสียงผิดปกติ
- สายไฟหรือปลั๊กร้อนจัดหรือขาด หักงอ หรือชำรุดเสียหายไม่ว่าในทางใด
- การไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้อาจทำให้เกิดไฟไหม้ ไฟฟ้าช็อต หรือการบาดเจ็บได้:
- ห้ามวางผลิตภัณฑ์ไว้ใกล้สารทำละลายที่ติดไฟได้ เช่น แอลกอฮอล์หรือทินเนอร์
- ห้ามเปิดหรือดัดแปลงเครื่องพิมพ์
- ใช้สายไฟ/สายเคเบิลที่มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ของคุณเท่านั้น ห้ามใช้สายเคเบิลเหล่านี้กับอุปกรณ์อื่น ๆ
- ห้ามเสียบปลั๊กเข้ากับแรงดันไฟฟ้าหรือความถี่นอกเหนือจากที่ระบุไว้
- เสียบปลั๊กไฟเข้ากับเต้าเสียบให้สุด
- ห้ามเสียบหรือถอดปลั๊กไฟด้วยมือเปียก
- ห้ามทำให้สายไฟเสียหายโดยการบิด มัด ผูก ดึง หรืองอมากเกินไป
- ห้ามวางวัตถุที่มีน้ำหนักมากทับสายไฟ
- ห้ามต่อสายไฟหลายสายเข้ากับเต้าเสียบไฟเพียงอันเดียว ห้ามใช้สายไฟต่อพ่วงหลายสาย
- ห้ามเสียบปลั๊กเครื่องพิมพ์ทิ้งไว้ในระหว่างที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง
- ถอดปลั๊กไฟและสายเคเบิลทุกครั้งเมื่อมีการทำความสะอาด ห้ามใช้สเปรย์หรือของเหลวที่ติดไฟได้ในการทำความสะอาด เช่น แอลกอฮอล์หรือทินเนอร์
- ถอดปลั๊กสายไฟเดือนละครั้งเพื่อตรวจสอบว่าสายไฟไม่ได้ร้อนจัด เป็นสนิม บิดงอ มีรอยขีดข่วน ปริแตก หรือชำรุดเสียหาย
ข้อควรระวัง
- ห้ามแหย่มือเข้าไปในเครื่องพิมพ์ขณะที่กำลังพิมพ์อยู่
- อย่าสัมผัสชิ้นส่วนโลหะของหัวพิมพ์ ทันทีหลังจากการพิมพ์
- ขวดหมึก
- เก็บให้พ้นจากมือเด็ก
- อย่าดื่มกลืนหมึก
หากมีการเลียหรือกลืนกินหมึกโดยไม่ได้ตั้งใจ ให้ล้างปากของคุณหรือดื่มน้ำหนึ่งหรือสองแก้ว แล้วปรึกษาแพทย์ทันที
หากหมึกเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำแล้วปรึกษาแพทย์ทันที - หากหมึกถูกผิว ให้ล้างผิวหนังบริเวณที่โดยหมึกด้วยน้ำและสบู่ทันที หากผิวหนังยังคงมีอาการแพ้ ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
- เมื่อคุณจัดเก็บขวดหมึก ให้ปิดแค็ปขวดให้สนิทและวางขวด ในตำแหน่งตั้งตรง หากวางขวดหมึกตะแคง หมึกอาจรั่วซึมได้
- เมื่อเติมตลับหมึก ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่เพื่อป้องกัน ไม่ให้หมึกกระเด็นลงบนบริเวณโดยรอบ
- หมึกอาจทำให้เสื้อผ้าหรือสิ่งของอื่นๆ เป็นรอยเปื้อนอย่างถาวร การซักล้างอาจไม่สามารถขจัดรอยเปื้อนของหมึก
- อย่าทิ้งขวดหมึกไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ใกล้เปลวไฟหรือเครื่องทำความร้อน หรือในรถยนต์ ขวดอาจบิดเบี้ยว ทำให้เกิดการรั่วซึมของหมึกหรือหมึกอาจมีคุณภาพไม่ดี
- อย่ากระแทกขวดหมึก ขวดหมึกอาจเกิดความเสียหายหรือแค็ปขวดอาจหลุดออกจากแรงกระแทก และหมึกอาจรั่วซึมได้
- อย่าถ่ายโอนหมึกไปยังภาชนะบรรจุอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการกลืนกินโดยไม่ตั้งใจ การใช้ที่ไม่เหมาะสม หรือคุณภาพหมึกไม่ดี
- การขนย้ายเครื่องพิมพ์
-
ถือเครื่องพิมพ์ทางด้านข้างและถือด้วยมือทั้งสองข้าง
-
ข้อความแจ้งเตือนทั่วไป
การเลือกสถานที่
อ้างอิง "ข้อมูลทางเทคนิค" ในคู่มือออนไลน์สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการใช้งาน
- ห้ามติดตั้งเครื่องพิมพ์ในพื้นที่ที่ไม่มั่นคงหรือมีการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง
- ห้ามติดตั้งเครื่องพิมพ์ในบริเวณที่มีความร้อนสูง (แสงแดดโดยตรงหรือใกล้แหล่งความร้อน) สถานที่ที่มีความชื้นหรือมีฝุ่นมาก หรือกลางแจ้ง
- ห้ามวางเครื่องพิมพ์ไว้บนผ้าหรือพรมที่หนา
- ห้ามวางเครื่องพิมพ์ติดกับผนัง
แหล่งจ่ายไฟ
- เก็บพื้นที่รอบ ๆ ปลั๊กไฟให้เรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้คุณสามารถถอดปลั๊กไฟออกได้ง่ายถ้าจำเป็น
- ห้ามถอดปลั๊กด้วยการดึงสายไฟโดยเด็ดขาด
ข้อความแจ้งเตือนทั่วไป
- ห้ามเอียงเครื่องพิมพ์ ตั้งด้านข้าง หรือพลิกคว่ำลง เพราะอาจทำให้หมึกรั่วซึมได้
- ห้ามวางสิ่งของใด ๆ ไว้ที่ด้านบนของเครื่องพิมพ์ ระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงวัตถุที่เป็นโลหะ เช่น คลิปหนีบกระดาษและลวดเย็บกระดาษ รวมทั้งภาชนะบรรจุของเหลวที่ติดไฟได้ เช่น แอลกอฮอล์หรือทินเนอร์
- การดัดแปลงหรือรื้อหัวพิมพ์หรือขวดหมึก เช่น การเจาะรู อาจทำให้หมึกรั่วไหลและก่อให้เกิดความผิดปกติได้ เราขอแนะนำไม่ให้คุณดัดแปลงหรือรื้อหัวพิมพ์
- ห้ามโยนหัวพิมพ์หรือขวดหมึกใส่เปลวไฟ